ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก







                         
                           ภาพลงสีโดย นายอดิศร สุขคมขำ _กรมสรรพาวุธทหารอากาศ




เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ท่านที่หก
ยุคแห่งการวิจัยและพัฒนา
พลอากาศตรีประภา เวชปาน

พลอากาศตรี ประภา เวชปาน ได้เข้ารับตำแหน่งเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ เมื่อวันที่ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๕ ต่อจาก พลอากาศตรี ประคอง ปิณฑบุตร ซึ่งได้เลื่อนขึ้นไปดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาทหารอากาศ

การจัดส่วนราชการและหน้าที่
การจัดส่วนราชการภายในของกรมสรรพาวุธทหารอากาศ ยังคงใช้อัตรา ทอ.๐๖ เช่นเดิม แต่ในปีพ.ศ.๒๕๑๗ ได้มีการปรับปรุงอัตราขึ้นใหม่ภายในกองต่างๆ โดยไม่เพิ่มอัตรากำลังพล ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจ ที่กรมสรรพาวุธทหารอากาศ รับผิดชอบมากขึ้น โดยเฉพาะกองโรงงานกระสุนวัตถุระเบิด ได้เพิ่มแผนกโรงงานลูกระเบิด ดำเนินการเกี่ยวกับการสร้าง ผลิต ซ่อม ดัดแปลงแก้ไขลูกระเบิดทุกชนิดและขนาดต่างๆ  กองพัสดุสรรพาวุธ ได้เพิ่มแผนกกระสุนวัตถุระเบิด ทั้งนี้ก็เพื่อบริการสนับสนุนกระสุนวัตถุระเบิด แก่หน่วยบิน และฐานบินต่างๆ ให้ทันกับเหตุการณ์และภารกิจ  และได้โอนฝ่ายทำลายวัตถุระเบิด ซึ่งขึ้นอยู่กับกองวิทยาการ ไปขึ้นอยู่กับกองพัสดุสรรพาวุธ และได้ขยายเป็น แผนกทำลายวัตถุระเบิด เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่เพิ่มมากขึ้น

การจัดส่วนราชการของกรมสรรพาวุธทหารอากาศประกอบด้วย กองบริการ กองวิทยาการ กองโรงงานสรรพาวุธ กองโรงงานกระสุนวัตถุระเบิด และกองพัสดุสรรพาวุธ

อาคารและสถานที่
ระหว่างปีพ.ศ. ๒๕๑๔ ถึง ๒๕๑๙ กรมสรรพาวุธทหารอากาศ ได้ปรับปรุงและสร้างอาคารขึ้นหลายหลัง พ.ศ.๒๕๑๕ ก่อสร้างโรงเรียนเหล่าทหารสรรพาวุธ และคลังน้ำมัน พ.ศ.๒๕๑๖ สร้างอาคารอุโมงค์ยิงปืน และติดตั้งอุปกรณ์ใช้ยิงตรวจทดสอบปืน พ.ศ.๒๕๑๙ สร้างที่สุขาสี่หลัง

กำลังพล
ในปีพ.ศ. ๒๕๑๕ ถึง ๒๕๑๙ กรมสรรพาวุธทหารอากาศ มีกำลังพลทั้งสิ้นดังนี้

นายทหารสัญญาบัตร ๒๐๕ คน
นายทหารประทวน ๗๑๓ คน
คนงานและลูกจ้างประจำ ๘๕๒ คน
ลูกจ้างชั่วคราว ๓๘ คน

รวมยอดกำลังพล ๑,๐๘๐ คน นับเป็นครั้งแรกในประวัติกรมฯ ที่มียอดกำลังพล มากกว่าหนึ่งพันคน

กรมสรรพาวุธทหารอากาศในยุคนี้ ได้เริ่มมีหน่วยราชการต่างๆและบุคคลสำคัญ เข้าชมกิจการของกรมฯ เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
แต่ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น กรมสรรพาวุธทหารอากาศในยุคนี้ ได้มีความก้าวหน้า และก้าวกระโดด ในกิจการของกรมฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวิจัยและพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ ดังบันทึกที่จะกล่าวถึงต่อจากนี้ไปอีกหลายบท

ความก้าวหน้าของกิจการกรมสรรพาวุธทหารอากาศ
สมัยพลอากาศตรี ประภา เวชปานเป็นเจ้ากรม

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เป็นต้นมา กองทัพอากาศ ได้รับความช่วยเหลือทางด้านอาวุธยุทโธปกรณ์จากสหรัฐอเมริกา ลดลงมาโดยลำดับ ทำให้กรมสรรพาวุธทหารอากาศ ขาดแคลนอาวุธต่างๆ เช่น กระสุน ลูกระเบิด และจรวดเป็นอย่างมาก 

ในปีพ.ศ.๒๕๑๕ ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอก บุญชู จันทรุเบกษา ได้มาตรวจเยี่ยมกรมสรรพาวุธทหารอากาศ และได้ให้นโยบายกับกรมสรรพาวุธ ทหารอากาศไว้ว่า “ จงพยายามสร้างและดัดแปลงอาวุธขึ้นใช้เอง เพื่อเป็นการส่งเสริมนโยบายช่วยตนเอง “ 

ดังนั้น เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ พลอากาศตรีประภา เวชปาน จึงได้พยายามรวบรวมเจ้าหน้าที่ ในกรมสรรพาวุธทหารอากาศ ที่มีความคิดริเริ่ม ในการสร้างดัดแปลงอาวุธ มาร่วมกันดำเนินการ ตามนโยบายของผู้บัญชาการทหารอากาศ โดยใช้กำลังพลและงบประมาณเท่าที่มีอยู่ และได้เริ่มดำเนินการเป็นขั้นๆ มา รวมทั้งดัดแปลง แก้ไขอาวุธต่างๆ เพื่อนำมาใช้กับระบบอาวุธของอากาศยาน ซึ่งแต่ละชนิดก็ได้ทำการปรับปรุงแก้ไขให้ได้มาตรฐาน และใช้การได้ สมความมุ่งหมายของทางราชการ บางอย่างได้ปรับปรุงแก้ไข จนในที่สุด ได้มาตรฐานเทียบเท่าของต่างประเทศ ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบมาตรฐานอาวุธของกองทัพอากาศ ก็ได้ตรวจรับรองแล้ว

โครงการต่างๆที่กรมสรรพาวุธทหารอากาศ ได้เริ่มดำเนินการทำเป็นโครงการต่างๆ
ดังนี้.-

๑.  โครงการปรับปรุงปืนกลมือ จันทรุเบกษา (ปกม.๐๗ )
๒.  โครงการสร้างลูกระเบิดขนาดต่างๆ
๓. โครงการสร้างกระสุนขนาดต่างๆ และไพโรเทคนิค
๔.  โครงการดัดแปลงอาวุธประจำอากาศยาน
๕.  โครงการวิจัยและพัฒนาจรวดอากาศ




                                                          ขอบคุณภาพ จากคุณอนุสรา ไทยดำรงค์
     

(ยังมีต่อ)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ท่านที่เจ็ด แปด และเก้า เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ท่านที่เจ็ด พลอากาศตรี ประดิษฐ์ บุญยะชัย พล อากาศตรี ประดิษฐ์ บุญยะชัย รองเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ได้เข้ารับต ำแหน่งเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศท่านที่ ๗ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๑๙ ต่อจากพลอากาศตรี ประภาเวชปาน ซึ่งได้เลื่อนขึ้นไปดำรงตำแหน่ง เจ้ากรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ ( อัตราพลอากาศโท ) การจัดส่วนราชการ การจัดส่วนราชการภายในของกรมสรรพาวุธทหารอากาศในสมัยนี้ ยังคงใช้อัตรา ทอ. ๐๖ เช่นเดิม แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลง และปรับปรุงอัตราขึ้นใหม่ภายในกองต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจ ที่กรมสรรพาวุธทหารอากาศรับผิดชอบมากขึ้น โดยเฉพาะกองวิทยาการ ได้เพิ่มแผนกวิศวกรขึ้นมา มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับวิจัยและพัฒนาดัดแปลงอาวุธ และอุปกรณ์สรรพาวุธ วิเคราะห์สาเหตุ และพิจารณาแก้ไข เพื่อลดอันตรายและอุบัติเหตุ ศึกษา ค้นคว้าและเผยแพร่วิทยาการความก้าวหน้าของสรรพาวุธ และอิเล็กทรอนิกส์สรรพาวุธ ตรวจตรากิจการในสายวิทยาการสรรพาวุธ วางแผนเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงอาวุธและอุปกรณ์สรรพาวุธ ดำ
                                              ภาพลงสีโดย นายอดิศร สุขคมขำ     กรมสรรพาวุธทหารอากาศ วันแห่งประวัติศาสตร์ของกรมสรรพาวุธทหารอากาศ (หมายเหตุ ผู้เรียบเรียงฯ ขออนุญาตใช้สำนวนในการบันทึกแบบต้นฉบับ ที่ท่านผู้เขียนบทความ (น.อ.สนั่น สุทธิจารีย์) ได้บันทึกไว้ เพื่อคงคุณค่า และคงไว้ในประวัติศาสตร์ ด้วยความรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเยี่ยมกรมสรรพาวุธทหารอากาศ          เมื่อ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๑๓ (ตรงกับวันจันทร์ เดือน ๗ ปีจอ แรม ๑๑ ค่ำ)  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร. ๙) ได้เสด็จเยี่ยมกรมสรรพาวุธทหารอากาศ เป็นการส่วนพระองค์ โดยมี พล.อ.อ. บุญชู จันทรุเบกษา ผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ.อ. ศิริ เมืองมณี รองผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ.อ. หะริน หงสกุล ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ.อ. สวัสดิ์ พรชำนิ ผู้บัญชาการกองบินยุทธการ พล.อ.ต. ประคอง ปิณฑะบุตร เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ นายทหารชั้นสัญญาบัตร นายทหารประทวน ลูกจ้างคนงาน ของกรมสรรพาวุธทหารอากาศ ตั้งแถวรอรับเสด็จฯ จากทางเข้าในเขตถนนก