ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก






เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ท่านที่เจ็ด แปด และเก้า

เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ท่านที่เจ็ด



พลอากาศตรี ประดิษฐ์ บุญยะชัย





พลอากาศตรี ประดิษฐ์ บุญยะชัย รองเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ได้เข้ารับตำแหน่งเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศท่านที่ ๗ เมื่อวันที่ ตุลาคม ๒๕๑๙ ต่อจากพลอากาศตรี ประภาเวชปาน ซึ่งได้เลื่อนขึ้นไปดำรงตำแหน่ง เจ้ากรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ ( อัตราพลอากาศโท )



การจัดส่วนราชการ

การจัดส่วนราชการภายในของกรมสรรพาวุธทหารอากาศในสมัยนี้ ยังคงใช้อัตรา ทอ. ๐๖ เช่นเดิม แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลง และปรับปรุงอัตราขึ้นใหม่ภายในกองต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจ ที่กรมสรรพาวุธทหารอากาศรับผิดชอบมากขึ้น โดยเฉพาะกองวิทยาการ ได้เพิ่มแผนกวิศวกรขึ้นมา มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับวิจัยและพัฒนาดัดแปลงอาวุธ และอุปกรณ์สรรพาวุธ วิเคราะห์สาเหตุ และพิจารณาแก้ไข เพื่อลดอันตรายและอุบัติเหตุ ศึกษา ค้นคว้าและเผยแพร่วิทยาการความก้าวหน้าของสรรพาวุธ และอิเล็กทรอนิกส์สรรพาวุธ ตรวจตรากิจการในสายวิทยาการสรรพาวุธ วางแผนเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงอาวุธและอุปกรณ์สรรพาวุธ ดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารเทคนิคและสถิติ ตลอดทั้งกำหนดรายละเอียดพัสดุสรรพาวุธที่จะต้องทำการจัดหา 


กองพัสดุสรรพาวุธ ได้เพิ่มแผนกคลังสรรพาวุธ เป็นสี่แผนกคือ แผนกคลังสรรพาวุธหนึ่ง แผนกคลังสรรพาวุธสองแผนกคลังสรรพาวุธสาม และแผนกคลังสรรพาวุธสี่ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่เพิ่มขึ้น



การจัดส่วนราชการของกรมสรรพาวุธทหารอากาศ ประกอบด้วย กองบริการ กองวิทยาการ กองโรงงานสรรพาวุธ กองโรงงานกระสุนวัตถุระเบิด และกองพัสดุสรรพาวุธ โดยมีฝ่ายเสนาธิการกรมสรรพาวุธทหารอากาศเป็นหน่วยช่วยเหลืองานผู้บังคับบัญชา ในด้านฝ่ายอำนวยการ ซึ่งประกอบด้วย เสนาธิการกรม นายทหารยุทธการและการข่าว นายทหารกำลังพลและผู้ช่วย



อาคารสถานที่

ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ถึง ๒๕๒๓ กรมสรรพาวุธทหารอากาศ มีการปรับปรุงและก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมอีกหลายหลัง ส่วนใหญ่เป็นการปรับปรุง และก่อสร้างอาคารในพื้นที่ กองโรงงานสรรพาวุธ ทุ่งสีกัน กองโรงงานสรรพาวุธ๔ จังหวัดลพบุรี และกองโรงงานสรรพาวุธ ๕



กำลังพล

ยอดกำลังพลของกรมสรรพาวุธทหารอากาศ เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นนายทหารสัญญาบัตร ๒๓๑ คน นายทหารประทวน ๗๖๗ คน คนงาน ลูกจ้างประจำ ๑,๖๙ คน ลูกจ้างชั่วคราว ๖๗ คนรวมมียอดรวมถึง ๒,๑๓๔ คน นับได้ว่า มียอดรวมกำลังพลมากที่สุด ตั้งแต่ได้รับการยกฐานะเป็นกรมสรรพาวุธทหารอากาศ เป็นต้นมา



ผลงานของกรมสรรพาวุธทหารอากาศ



ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ถึง ๒๕๑๙ นั้น กรมสรรพาวุธทหารอากาศ เป็นสมัยทำการทดลอง ดัดแปลง และสร้างอาวุธต่างๆ ด้วยตนเอง โดยใช้กำลังพล และงบประมาณเท่าที่มีอยู่ ตามนโยบายของผู้บัญชาการทหารอากาศ จนกระทั่งประสบผลสำเร็จสมความมุ่งหมายตามโครงการที่กำหนดทุกโครงการ คือ โครงการปรับปรุงปืนกลมือ จันทรุเบกษา ( ปกม.๐๗)  โครงการสร้างลูกระเบิดขนาดต่างๆ โครงการสร้างกระสุนขนาดต่างๆ และไพโรเทคนิค โครงการดัดแปลงอาวุธประจำอากาศยาน และโครงการวิจัยและพัฒนาจรวดอากาศ



และตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๑๙ ถึง ๒๕๒๓ เป็นสมัยที่กรมสรรพาวุธทหารอากาศ เริ่มทำการผลิต สร้างอาวุธกระสุนและจรวด ตามแผนประจำปี อาวุธและกระสุน ที่กรมสรรพาวุธทหารอากาศผลิต มีดังนี้

- กระสุน ๒๐ มม. แมดเสนES

- กระสุน . ๕๐ ซ้อมรบ Blank

- กระสุน .๓๘ Special

- กระสุน ๒๐ มม. ชนวนไฟฟ้า

- กระสุนสัญญาณควันและส่วนประกอบ

- ลูกระเบิดขว้างพลาสติค

- ชนวน M- 158 แบบดัดแปลงในส่วนที่เกี่ยวข้อง

- ทดลองสร้างไพโรเทคนิคและทำพลุสัญญาณต่างๆ

- ลูกระเบิดสังหารขนาด ๒๐ ปอนด์

- ลูกระเบิดทำลายขนาด ๒๕๐ ปอนด์

- ลูกระเบิดทำลายขนาด ๕๐๐ ปอนด์









เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศท่านที่แปด
 

 

พลอากาศตรี พยงค์ ศิริบุตร



พลอากาศตรี พยงค์ ศิริบุตร อดีตเป็นนายทหารเหล่าช่างอากาศ กรมช่างอากาศ ย้ายมารับราชการทางกรมสรรพาวุธทหารอากาศ ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ หลายตำแหน่ง เช่น ผอ. กองวิทยาการ รองเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ และผู้ชำนาญกองทัพอากาศ และได้เข้ารับตำแหน่ง เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ เมื่อ ตุลาคม ๒๕๒๓ ต่อจาก พลอากาศตรี ประดิษฐ์ บุญยะชัย ซึ่งย้ายไปประจำ บก.ทอ.



การจัดส่วนราชการและหน้าที่

การจัดส่วนราชการของกรมสรรพาวุธทหารอากาศในสมัยนี้ คงใช้อัตราทอ. ๐๖ เช่นเดิม แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุง และขยายอัตราขึ้นใหม่ เพื่อสอดคล้องกับภารกิจที่กรมสรรพาวุธทหารอากาศ รับผิดชอบมากขึ้น โดยจัดแบ่งส่วนราชการดังนี้



กองธุรการ กองวิทยาการ กองควบคุมผลผลิต กองโรงงานสรรพาวุธ๑ กองโรงงานสรรพาวุธ๒ กองโรงงานสรรพาวุธ๓ กองโรงงานสรรพาวุธ๔ กองโรงงานสรรพาวุธ๕ และกองพัสดุสรรพาวุธ



อาคารสถานที่

ในระหว่างปีพ.ศ. ๒๕๒๓ ถึง ๒๕๒๖ กรมสรรพาวุธทหารอากาศ ได้ปรับปรุงและก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมขึ้นหลายหลังมากกว่า ๒๐ อาคาร



กำลังพล

กำลังพลของกรมสรรพาวุธทหารอากาศ ได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนปีพ.ศ๒๕๒๖ มีกำลังพลรวมทั้งสิ้น ๒,๓๖๐ คน



สรุป

ในห้วงระยะเวลานี้ เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศท่านที่แปด ได้ดำเนินการนโยบายเช่นเดียวกับเจ้ากรมสรรพาวุธท่านที่เจ็ด และเนื่องจากมีภารกิจปริมาณงานที่รับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น จึงได้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม ตามส่วนที่ภารกิจเพิ่มขึ้นดังนี้

๑. ได้ขยายจัดตั้ง อัตรากำลังพล เพิ่มขึ้นอีกสี่กอง คือกองโรงงานสรรพาวุธ ๓ กองโรงงานสรรพาวุธ ๔ กองโรงงานสรรพาวุธ ๕ และกองควบคุมผลผลิต

๒. ด้านการศึกษาอบรม ได้เปิดหลักสูตรอบรมเจ้าหน้าที่เป็นประจำ ตามงบประมาณที่จัดสรรให้แต่ละปี นอกจากการฝึกอบรมแล้ว ยังได้จัดทำคู่มือและตำรา เพื่อให้เจ้าหน้าที่สรรพาวุธยึดถือ เป็นหลักปฏิบัติที่ถูกต้อง

๓. ด้านการปฏิบัติของโรงงาน ก็ได้จัดหาเครื่องมือ เครื่องจักรกล อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ เพิ่มเติมให้เพียงพอ กับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น

๔. ด้านการผลิต สร้าง ซ่อม ดัดแปลงอาวุธกระสุนวัตถุระเบิด และจรวด ตามแผนแต่ละโครงการแต่ละปี เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ สพ.ทอ. ก็ได้ดำเนินการให้ทัน ตามความต้องการของทางราชการตลอดมา

๕. งานด้านการซ่อมบำรุงอาวุธ กระสุน วัตถุระเบิด ปรากฏว่ามีสถิติงานสูงเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ เพราะอาวุธที่ทอ. มีอยู่ เริ่มจะครบอายุซ่อมใหญ่ แต่ สพ.ทอ. ก็ได้พยายามดำเนินการให้ลุล่วงไปด้วยดี









เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศท่านที่เก้า



 

พลอากาศตรี ทศพล สีห์สุรไกร



พลอากาศตรี ทศพล สีห์สุรไกร เป็นนายทหารเหล่านักบิน ได้เข้ารับตำแหน่งเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ เมื่อวันที่ ตุลาคม ๒๕๒๕ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีลง กันยายน ๒๕๒๕ ต่อจากพลอากาศตรี พยงค์ ศิริบุตร ซึ่งย้ายไปประจำ บก.ทอ.

๑. การจัดส่วนราชการและหน้าที่ คงใช้อัตรา ทอ.๐๖ เช่นเดิม ยังไม่มีการปรับปรุง และเปลี่ยนแปลง

๒. อาคารสถานที่ ยังไม่มีการก่อสร้างเพิ่มเติม

. กำลังพลคงเดิม

๔. การดำเนินการผลิต ซ่อม สร้าง ดัดแปลงอาวุธกระสุนวัตถุระเบิด และจรวด ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ คงดำเนินการตามแผน และโครงการที่ทางราชการกำหนดไว้ต่อไป




                   ( ตอนหน้า เป็นบทสรุป ."ตำนานสรรพาวุธ" )


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

                                              ภาพลงสีโดย นายอดิศร สุขคมขำ     กรมสรรพาวุธทหารอากาศ วันแห่งประวัติศาสตร์ของกรมสรรพาวุธทหารอากาศ (หมายเหตุ ผู้เรียบเรียงฯ ขออนุญาตใช้สำนวนในการบันทึกแบบต้นฉบับ ที่ท่านผู้เขียนบทความ (น.อ.สนั่น สุทธิจารีย์) ได้บันทึกไว้ เพื่อคงคุณค่า และคงไว้ในประวัติศาสตร์ ด้วยความรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเยี่ยมกรมสรรพาวุธทหารอากาศ          เมื่อ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๑๓ (ตรงกับวันจันทร์ เดือน ๗ ปีจอ แรม ๑๑ ค่ำ)  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร. ๙) ได้เสด็จเยี่ยมกรมสรรพาวุธทหารอากาศ เป็นการส่วนพระองค์ โดยมี พล.อ.อ. บุญชู จันทรุเบกษา ผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ.อ. ศิริ เมืองมณี รองผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ.อ. หะริน หงสกุล ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ.อ. สวัสดิ์ พรชำนิ ผู้บัญชาการกองบินยุทธการ พล.อ.ต. ประคอง ปิณฑะบุตร เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ นายทหารชั้นสัญญาบัตร นายทหารประทวน ลูกจ้างคนงาน ของกรมสรรพาวุธทหารอากาศ ตั้งแถวรอรับเสด็จฯ จากทางเข้าในเขตถนนก
                                                     ภาพลงสีโดย นายอดิศร สุขคมขำ _กรมสรรพาวุธทหารอากาศ เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ท่านที่หก ยุคแห่งการวิจัยและพัฒนา พลอากาศตรีประภา เวชปาน พลอากาศตรี ประภา เวชปาน ได้เข้ารับตำแหน่งเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ต่อจาก พลอากาศตรี ประคอง ปิณฑบุตร ซึ่งได้ เลื่อนขึ้นไปดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาทหารอากาศ การจัดส่วนราชการและหน้าที่ การจัดส่วนราชการภายในของกรมสรรพาวุธทหารอากาศ ยังคงใช้อัตรา ทอ. ๐๖ เช่นเดิม แต่ในปีพ.ศ.๒๕๑๗ ได้มีการปรับปรุงอัตราขึ้นใหม่ภายในกองต่างๆ โดยไม่เพิ่มอัตรากำลังพล ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจ ที่กรมสรรพาวุธทหารอากาศ รับผิดชอบมากขึ้น โดยเฉพาะกองโรงงานกระสุนวัตถุระเบิด ได้เพิ่มแผนกโรงงานลูกระเบิด ดำเนินการเกี่ยวกับการสร้าง ผลิต ซ่อม ดัดแปลงแก้ไขลูกระเบิดทุกชนิดและขนาดต่างๆ  กองพัสดุสรรพาวุธ ได้เพิ่มแผนกกระสุนวัตถุระเบิด ทั้งนี้ก็เพื่อบริการสนับสนุนกระสุนวัตถุระเบิด แก่หน่วยบิน และฐานบินต่างๆ ให้ทันกับเหตุการณ์และภารกิจ   และได้โอนฝ่ายทำลาย