ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก






หัวหน้าหมวดอาวุธและหัวหน้าแผนกอาวุธท่านแรกแห่งสยาม

กิจการบินของสยามนั้น นับเริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ. 2457 ได้มีการบัญญัติแบ่งทหาร ออกเป็นเหล่า ชนิด และจำพวก
       กระทรวงกลาโหม จึงได้จัดตั้งแผนกการบิน อยู่ในบังคับบัญชาของ จเรทหารช่าง ในปีเดียวกันนี้ มีการยกฐานะแผนกการบิน ขึ้นเป็น กองบินทหารบก และได้รับการปรับเปลี่ยนชื่อหน่วยเป็น กรมอากาศยานทหารบก และกรมอากาศยาน ในปีต่อๆมา ตามลำดับ

ปีพ.ศ. 2476 มีการเริ่มกิจการอาวุธขึ้นในกรมอากาศยาน กระทรวงกลาโหม เมื่อกรมอากาศยาน ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น กรมทหารอากาศ ในปีพ.ศ. 2478 จึงได้จัดตั้งหมวดอาวุธ ขึ้นกับกองคลัง กรมโรงงานทหารอากาศ
หัวหน้าหมวดอาวุธท่านแรก ได้แก่ นายนาวาอากาศตรี ขุนเทโพปกรณ์ยุทธ และมี นายนาวาอากาศตรี ดิษ รงค์กระจ่าง เป็นผู้ช่วย การดำเนินงานของหน่วยนี้ คือทำหลักฐานทางบัญชี การเบิกจ่ายพัสดุงาน ด้านการซ่อมอาวุธต่างๆ แต่หมวดอาวุธ ยังคงต้องอาศัยเครื่องมือเครื่องใช้ และช่างชำนาญงาน ของกรมช่างแสงทหารบกอยู่ 

ในปีพ.ศ. 2480 กรมทหารอากาศ ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น กองทัพอากาศ เมื่อ 9 เมษายน พ.ศ. 2480 กองทัพอากาศได้มีการจัดอัตรากำลังใหม่ หมวดอาวุธเดิมได้ขยายงาน และจัดหน่วยเป็นแผนกอาวุธ ขึ้นตรงต่อกรมเสนาธิการทหารอากาศ
 ตามข้อบังคับทหาร ว่าด้วยกำหนดกำลังเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศ เวลาปกติ ปีพ.ศ. 2481 โดยมีนายนาวาอากาศโท ขุนเทโพปกรณ์ยุทธ เลื่อนขึ้นมาเป็นหัวหน้าแผนกอาวุธ กรมเสนาธิการทหารอากาศ เป็นท่านแรกจนถึงปีพ.ศ. 2484

กำลังพลของแผนกอาวุธในยุคนั้น มียอดรวมเพียง 5 นาย ตามผนวก 1 ข้อบังคับทหารฯ ปี พ.ศ. 2481 ดังนี้.-
กำลังพล แผนกอาวุธ กรมเสนาธิการทหารอากาศ

1. หัวหน้าแผนก                   
           นายนาวาอากาศโท ขุนเทโพปกรณ์ยุทธ
2. นายทหารประจำแผนก     
           นายเรืออากาศเอก ขุนสงวนคุรุเกียรติ                                      
           นายเรืออากาศเอก เฉลิม  คชเสนีย์
           นายเรืออากาศเอก แทน  เกิดสว่าง
3. เสมียน                              
          จ่าอากาศโท โห้  ศรีอาภรณ์

(ยังมีต่อ)




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ท่านที่เจ็ด แปด และเก้า เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ท่านที่เจ็ด พลอากาศตรี ประดิษฐ์ บุญยะชัย พล อากาศตรี ประดิษฐ์ บุญยะชัย รองเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ได้เข้ารับต ำแหน่งเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศท่านที่ ๗ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๑๙ ต่อจากพลอากาศตรี ประภาเวชปาน ซึ่งได้เลื่อนขึ้นไปดำรงตำแหน่ง เจ้ากรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ ( อัตราพลอากาศโท ) การจัดส่วนราชการ การจัดส่วนราชการภายในของกรมสรรพาวุธทหารอากาศในสมัยนี้ ยังคงใช้อัตรา ทอ. ๐๖ เช่นเดิม แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลง และปรับปรุงอัตราขึ้นใหม่ภายในกองต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจ ที่กรมสรรพาวุธทหารอากาศรับผิดชอบมากขึ้น โดยเฉพาะกองวิทยาการ ได้เพิ่มแผนกวิศวกรขึ้นมา มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับวิจัยและพัฒนาดัดแปลงอาวุธ และอุปกรณ์สรรพาวุธ วิเคราะห์สาเหตุ และพิจารณาแก้ไข เพื่อลดอันตรายและอุบัติเหตุ ศึกษา ค้นคว้าและเผยแพร่วิทยาการความก้าวหน้าของสรรพาวุธ และอิเล็กทรอนิกส์สรรพาวุธ ตรวจตรากิจการในสายวิทยาการสรรพาวุธ วางแผนเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงอาวุธและอุปกรณ์สรรพาวุธ ดำ
                                              ภาพลงสีโดย นายอดิศร สุขคมขำ     กรมสรรพาวุธทหารอากาศ วันแห่งประวัติศาสตร์ของกรมสรรพาวุธทหารอากาศ (หมายเหตุ ผู้เรียบเรียงฯ ขออนุญาตใช้สำนวนในการบันทึกแบบต้นฉบับ ที่ท่านผู้เขียนบทความ (น.อ.สนั่น สุทธิจารีย์) ได้บันทึกไว้ เพื่อคงคุณค่า และคงไว้ในประวัติศาสตร์ ด้วยความรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเยี่ยมกรมสรรพาวุธทหารอากาศ          เมื่อ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๑๓ (ตรงกับวันจันทร์ เดือน ๗ ปีจอ แรม ๑๑ ค่ำ)  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร. ๙) ได้เสด็จเยี่ยมกรมสรรพาวุธทหารอากาศ เป็นการส่วนพระองค์ โดยมี พล.อ.อ. บุญชู จันทรุเบกษา ผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ.อ. ศิริ เมืองมณี รองผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ.อ. หะริน หงสกุล ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ.อ. สวัสดิ์ พรชำนิ ผู้บัญชาการกองบินยุทธการ พล.อ.ต. ประคอง ปิณฑะบุตร เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ นายทหารชั้นสัญญาบัตร นายทหารประทวน ลูกจ้างคนงาน ของกรมสรรพาวุธทหารอากาศ ตั้งแถวรอรับเสด็จฯ จากทางเข้าในเขตถนนก
                                                     ภาพลงสีโดย นายอดิศร สุขคมขำ _กรมสรรพาวุธทหารอากาศ เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ท่านที่หก ยุคแห่งการวิจัยและพัฒนา พลอากาศตรีประภา เวชปาน พลอากาศตรี ประภา เวชปาน ได้เข้ารับตำแหน่งเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ต่อจาก พลอากาศตรี ประคอง ปิณฑบุตร ซึ่งได้ เลื่อนขึ้นไปดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาทหารอากาศ การจัดส่วนราชการและหน้าที่ การจัดส่วนราชการภายในของกรมสรรพาวุธทหารอากาศ ยังคงใช้อัตรา ทอ. ๐๖ เช่นเดิม แต่ในปีพ.ศ.๒๕๑๗ ได้มีการปรับปรุงอัตราขึ้นใหม่ภายในกองต่างๆ โดยไม่เพิ่มอัตรากำลังพล ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจ ที่กรมสรรพาวุธทหารอากาศ รับผิดชอบมากขึ้น โดยเฉพาะกองโรงงานกระสุนวัตถุระเบิด ได้เพิ่มแผนกโรงงานลูกระเบิด ดำเนินการเกี่ยวกับการสร้าง ผลิต ซ่อม ดัดแปลงแก้ไขลูกระเบิดทุกชนิดและขนาดต่างๆ  กองพัสดุสรรพาวุธ ได้เพิ่มแผนกกระสุนวัตถุระเบิด ทั้งนี้ก็เพื่อบริการสนับสนุนกระสุนวัตถุระเบิด แก่หน่วยบิน และฐานบินต่างๆ ให้ทันกับเหตุการณ์และภารกิจ   และได้โอนฝ่ายทำลาย