ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก




นับปีที่ ๑ การเริ่มต้น

ก่อนหน้าที่จะได้รับการจัดตั้งเป็นกรมสรรพาวุธทหารอากาศนั้น ที่ตั้งของหมวดอาวุธและแผนกอาวุธ ได้โยกย้ายไปหลายแห่ง ตามสถานการณ์ในขณะนั้น โดยจากจากโรงงานการซ่อม ย้ายไปอยู่วัดบึงทะเลสาบ รังสิต จากนั้น ย้ายไปอยู่ที่วัดหลักสี่  ปีพ.ศ.2489 ย้ายไปอยู่ที่ กรมช่างอากาศ บางซื่อ ปี พ.ศ. 2490 ได้ย้ายที่ตั้งใหม่ โดยย้ายมาที่ดอนเมือง ด้านฝั่งทิศตะวันตกของสนามบินดอนเมือง ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของกองบิน 1 และกองโรงเรียนการบิน

จากการจัดสรรงบประมาณของกองทัพอากาศ ในปี พ.ศ. 2492 กรมสรรพาวุธทหารอากาศ ได้รับการจัดสรรอาคารถาวรสองหลัง ซึ่งใช้เป็นกองบังคับการกรมในปัจจุบัน(หมายเลข 101 ) และคลังพัสดุ (หมายเลข 501 ) สถานที่ตั้ง บริเวณด้านทิศตะวันออกของสนามบินดอนเมือง สถานที่แห่งนี้ ถือเป็นที่ตั้งของกรมสรรพาวุธทหารอากาศ จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2561)

ในช่วงเวลาเริ่มต้น ของกรมสรรพาวุธทหารอากาศนั้น กำลังพลยอดรวม มีเพียง 51 คน มีการแบ่งส่วนราชการ ตามอัตรา ทอ. 91 โดยแบ่งเป็น กองบังคับการ แผนกเทคนิค แผนกช่างแสง และแผนกคลังแสง
 ต่อมา เมื่อมีภารกิจเพิ่มขึ้น ได้มีการปรับจัดส่วนราชการ ตามอัตรา ทอ. 95 (ผนวก2)  ยอดกำลังพลเพิ่มขึ้น รวมเป็น 86  คน และแบ่งส่วนราชการเป็น แผนกบริการ กองวิทยาการ กองโรงงานสร้างกระสุน กองโรงงานสรรพาวุธ แผนกยานยนต์และเครื่องมือหนัก และแผนกคลังสรรพาวุธ

การปรับเปลี่ยนโครงสร้างและการจัด เกิดขึ้นเนื่องจาก การได้รับความช่วยเหลือจากมิตรประเทศ ตามโครงการ  MDAP ( Major Defense Acquisition Program ) ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ รวมทั้งยานพาหนะ ซึ่งได้จัดหารถยนต์มาใช้เพื่อลำเลียงกระสุนอาวุธโดยเฉพาะ 

จากปี พ.ศ. 2491 ถึงพ.ศ. 2498 ที่ท่านเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ พลอากาศตรี หลวงกรโกสียกาจ ดำรงตำแหน่งนั้น มีการปรับเปลี่ยน และขยายภารกิจของกรมสรรพาวุธทหารอากาศเป็นอย่างมาก ทางราชการได้รับเครื่องบินแบบใหม่ๆ เพิ่มขึ้น รวมทั้งอุปกรณ์ในด้านการสรรพาวุธทางอากาศ มีมากขึ้น กรมฯ ได้เริ่มส่งนายทหารสรรพาวุธ ไปศึกษา ณ ต่างประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และเดนมาร์ก สำหรับนายทหารประทวน ได้มีการเปิดอบรม โดยเรียกตัวมาจากหน่วยต่างๆ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาเข้ารับการอบรม 

ในการพัฒนาขีดความสามารถของหน่วยนั้น กองโรงงานสรรพาวุธ เริ่มมีการสั่งซื้อเครื่องจักรหรือเครื่องมืออื่นๆ เป็นจำนวนมาก เพื่อผลิตชิ้นส่วนอาวุธ และทำการซ่อมบำรุงอาวุธต่างๆ เช่น เครื่องจักรสำหรับเหลารางปืน เครื่องจักรกลและเครื่องมือสำหรับสร้างลำกล้องปืน ทำให้ในการซ่อมบำรุง สามารถซ่อมได้เองโดยไม่ต้องอาศัยหน่วยอื่น กองโรงงานฯ สามารถซ่อมปืนกลอากาศ และปืนภาคพื้นดินที่ชำรุด รวมทั้งสร้างชิ้นส่วนประกอบของอาวุธทั้งสองประเภท เริ่มสร้างหัวกระสุนไม้และลูกระเบิดฝึก เพื่อให้มีโอกาสทำการฝึกได้มากขึ้น มีการทำเอกสารคู่มือการใช้อาวุธ และดำเนินการอบรมเจ้าหน้าที่สรรพาวุธ ให้มีความรู้ทางด้านวิทยาการ และระเบียบงานสรรพาวุธ และเมื่อได้รับการช่วยเหลือจากมิตรประเทศเพิ่มมากขึ้น จึงได้ขยายคลังสรรพาวุธและสร้างอาคารต่างๆ เพิ่มอีกเป็นจำนวนมาก ส่วนมากเป็นอาคารกึ่งถาวร ทั้งนี้ รวมทั้งคลัง ที่ตั้งอยู่ในหน่วยบินต่างจังหวัด เพื่อเก็บรักษาอาวุธยุทโธปกรณ์และวัตถุระเบิด รวมถึงมีการวางแนวทางการเก็บรักษาอาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ให้ถูกแบบแผน 

ในการสวัสดิการของหน่วยนั้น ท่านเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ เป็นผู้บังคับบัญชาที่สอดส่องดูแลทุกข์สุขของผู้ใต้บังคับบัญชาโดยใกล้ชิด เข้าถึงจิตใจของผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น เป็นผลให้ ได้รับความร่วมมือในการปฏิบัติงานได้ดี ต่อมาโดยการประสานงานอันดีกับหน่วยภายนอก ทำให้กรมสรรพาวุธทหารอากาศ สามารถได้รับเงินอุดหนุนจากส่วนลดสลากกินแบ่งของรัฐบาล ในปีพ.ศ. 2496 เงินจำนวนนี้ ช่วยแบ่งเบาภาระด้านอื่น เป็นผลให้การสวัสดิการภายในของกรมฯ ดีขึ้นมาก

สรุป การจัดให้มีหน่วยบริการกระสุนวัตถุระเบิดตามหน่วยบิน หรือฝูงบินต่างๆ ซึ่งเป็นการสนับสนุนโดยใกล้ชิด ทำให้หน่วยผู้รับบริการ ปฏิบัติภารกิจด้วยความสะดวกเรียบร้อย การซ่อมบำรุงสรรพาวุธภาคอากาศ นับว่ามีประสิทธิภาพสูง ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะห้วงระยะเวลานี้ อยู่ในระยะเวลาเริ่มต้น ที่กองทัพอากาศไทย ได้รับความช่วยเหลือทางทหาร ตามโครงการฯ  อุปกรณ์และอะไหล่ต่างๆ ได้รับมาอย่างเพียงพอต่อความต้องการ ในการซ่อมบำรุง แม้ว่าจะขาดช่างชำนาญงานแต่เจ้าหน้าที่เหล่าทหารสรรพาวุธ ซึ่งได้รับทุนช่วยเหลือ ส่งไปศึกษา และดูงานต่างประเทศ ก็ได้นำเอาประสบการณ์ และวิทยาการมาช่วยขจัดปัญหาเหล่านี้ได้มาก

การซ่อมบำรุงสรรพาวุธภาคพื้นดิน ดำเนินไปในระดับปานกลาง เพราะกรมสรรพาวุธทหารอากาศ ต้องช่วยเหลือตนเองโดยตลอดทั้งนี้ เพราะช่างชำนาญงานมีจำนวนจำกัด การฝึกช่างใหม่ให้มีความชำนาญต้องใช้เวลานาน อย่างไรก็ดีกรมสรรพาวุธทหารอากาศ ก็สามารถสนับสนุนหน่วยผู้ใช้ได้เพียงพอ และทันต่อความต้องการ

                                                                                  (ยังมีต่อ)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ท่านที่เจ็ด แปด และเก้า เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ท่านที่เจ็ด พลอากาศตรี ประดิษฐ์ บุญยะชัย พล อากาศตรี ประดิษฐ์ บุญยะชัย รองเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ได้เข้ารับต ำแหน่งเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศท่านที่ ๗ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๑๙ ต่อจากพลอากาศตรี ประภาเวชปาน ซึ่งได้เลื่อนขึ้นไปดำรงตำแหน่ง เจ้ากรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ ( อัตราพลอากาศโท ) การจัดส่วนราชการ การจัดส่วนราชการภายในของกรมสรรพาวุธทหารอากาศในสมัยนี้ ยังคงใช้อัตรา ทอ. ๐๖ เช่นเดิม แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลง และปรับปรุงอัตราขึ้นใหม่ภายในกองต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจ ที่กรมสรรพาวุธทหารอากาศรับผิดชอบมากขึ้น โดยเฉพาะกองวิทยาการ ได้เพิ่มแผนกวิศวกรขึ้นมา มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับวิจัยและพัฒนาดัดแปลงอาวุธ และอุปกรณ์สรรพาวุธ วิเคราะห์สาเหตุ และพิจารณาแก้ไข เพื่อลดอันตรายและอุบัติเหตุ ศึกษา ค้นคว้าและเผยแพร่วิทยาการความก้าวหน้าของสรรพาวุธ และอิเล็กทรอนิกส์สรรพาวุธ ตรวจตรากิจการในสายวิทยาการสรรพาวุธ วางแผนเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงอาวุธและอุปกรณ์สรรพาวุธ ดำ
                                              ภาพลงสีโดย นายอดิศร สุขคมขำ     กรมสรรพาวุธทหารอากาศ วันแห่งประวัติศาสตร์ของกรมสรรพาวุธทหารอากาศ (หมายเหตุ ผู้เรียบเรียงฯ ขออนุญาตใช้สำนวนในการบันทึกแบบต้นฉบับ ที่ท่านผู้เขียนบทความ (น.อ.สนั่น สุทธิจารีย์) ได้บันทึกไว้ เพื่อคงคุณค่า และคงไว้ในประวัติศาสตร์ ด้วยความรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเยี่ยมกรมสรรพาวุธทหารอากาศ          เมื่อ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๑๓ (ตรงกับวันจันทร์ เดือน ๗ ปีจอ แรม ๑๑ ค่ำ)  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร. ๙) ได้เสด็จเยี่ยมกรมสรรพาวุธทหารอากาศ เป็นการส่วนพระองค์ โดยมี พล.อ.อ. บุญชู จันทรุเบกษา ผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ.อ. ศิริ เมืองมณี รองผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ.อ. หะริน หงสกุล ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ.อ. สวัสดิ์ พรชำนิ ผู้บัญชาการกองบินยุทธการ พล.อ.ต. ประคอง ปิณฑะบุตร เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ นายทหารชั้นสัญญาบัตร นายทหารประทวน ลูกจ้างคนงาน ของกรมสรรพาวุธทหารอากาศ ตั้งแถวรอรับเสด็จฯ จากทางเข้าในเขตถนนก
                                                     ภาพลงสีโดย นายอดิศร สุขคมขำ _กรมสรรพาวุธทหารอากาศ เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ท่านที่หก ยุคแห่งการวิจัยและพัฒนา พลอากาศตรีประภา เวชปาน พลอากาศตรี ประภา เวชปาน ได้เข้ารับตำแหน่งเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ต่อจาก พลอากาศตรี ประคอง ปิณฑบุตร ซึ่งได้ เลื่อนขึ้นไปดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาทหารอากาศ การจัดส่วนราชการและหน้าที่ การจัดส่วนราชการภายในของกรมสรรพาวุธทหารอากาศ ยังคงใช้อัตรา ทอ. ๐๖ เช่นเดิม แต่ในปีพ.ศ.๒๕๑๗ ได้มีการปรับปรุงอัตราขึ้นใหม่ภายในกองต่างๆ โดยไม่เพิ่มอัตรากำลังพล ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจ ที่กรมสรรพาวุธทหารอากาศ รับผิดชอบมากขึ้น โดยเฉพาะกองโรงงานกระสุนวัตถุระเบิด ได้เพิ่มแผนกโรงงานลูกระเบิด ดำเนินการเกี่ยวกับการสร้าง ผลิต ซ่อม ดัดแปลงแก้ไขลูกระเบิดทุกชนิดและขนาดต่างๆ  กองพัสดุสรรพาวุธ ได้เพิ่มแผนกกระสุนวัตถุระเบิด ทั้งนี้ก็เพื่อบริการสนับสนุนกระสุนวัตถุระเบิด แก่หน่วยบิน และฐานบินต่างๆ ให้ทันกับเหตุการณ์และภารกิจ   และได้โอนฝ่ายทำลาย