ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก







 

เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศท่านที่สอง

พลอากาศตรี สวัสดิ์ โพธิวิหค



นายทหารนักบินฝีมือดี ผู้มีประสบการณ์จากตำแหน่งสำคัญในกองทัพอากาศมาหลายตำแหน่ง

และจาก รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารอากาศ มาเป็นเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ตามคำสั่ง กห ที่ ๒๖๓/๒๒๗๐๘

ลง ๒พ.ย.๙๘ และราชกิจจาฯ เล่ม ๑๒ ตอนที่ ๘๖ ลง ๒๐ ต.ค.๙๘  เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ท่านที่สองนี้ ดำรงตำแหน่งอยู่จนกระทั่ง ๒๓ ก.ย. พ.ศ.๒๕๐๐ จึงได้ย้ายไปประจำกองบัญชาการกองทัพอากาศ ตามราชกิจจาฯ เล่ม๗๔ ตอนที่ ๘๒ ฉบับพิเศษ หน้า๒ ลง ๒๖ ก.ย.๒๕๐๐

การจัดส่วนราชการและหน้าที่

การจัดส่วนราชการของกรมสรรพาวุธทหารอากาศ ยังคงใช้อัตรา ทอ. ๙๘ เช่นเดิม มีการแบ่งส่วนราชการภายในแบ่งเป็น กองบริการ กองวิทยาการ กองโรงงานสรรพาวุธ กองโรงงานสร้างกระสุน และกองพัสดุสรรพาวุธ



กองบริการ ตามอัตราทอ.๙๘ แผนกบริการเดิมได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกองบริการ  กองวิทยาการ ได้ปรับปรุงส่วนราชการภายในหลายส่วน หมวดธุรการเป็นหมวดสารบรรณ  แผนกวิทยาการ แผนแบบ แผนกวิจัยและสถิติยังคงเดิม แต่ได้เพิ่มแผนกตรวจทดลองขึ้น เพื่อทำการตรวจทดลองทั้งทางฟิสิกส์และเคมี เกี่ยวกับวัตถุระเบิด

กองโรงงานสรรพาวุธตามอัตรา ทอ.๙๘ นี้ ได้ปรับปรุงส่วนราชการภายในหลายส่วนคือ หมวดธุรการเป็นหมวดสารบรรณ มีหมวดควบคุมงาน แผนกช่างโลหะ แผนกเครื่องกล แผนกซ่อมอาวุธ และแผนกเครื่องมือแบบวัด

กองโรงงานสร้างกระสุน ยังคงดำเนินงานเหมือนเดิม แต่เนื่องจากเป็นระยะเริ่มต้น การขาดแคลนทั้งช่างชำนาญงาน และเครื่องจักรกล ผลงานจึงไม่ก้าวหน้าไปเท่าที่ควร ตามอัตรา๙๘ นี้ นอกจากมีหมวดสารบรรณ ๑หมวดแล้ว ยังมีแผนกสร้างปลอกและลูกกระสุน แผนกสร้างชนวนและรวมกระสุน

กองพัสดุสรรพาวุธทำหน้าที่เหมือนกับแผนกคลังสรรพาวุธ แต่ปริมาณงานขยายตัวขึ้นตามส่วน เพราะมิตรประเทศ ให้ความช่วยเหลือกองทัพไทยเพิ่มขึ้น กองพัสดุสรรพาวุธ ประกอบด้วย หมวดสารบรรณ หมวดสำรวจพัสดุ หมวดบัญชีคุมและสถิติ และแผนกคลังสรรพาวุธ

อาคารสถานที่

ช่วงเวลาระหว่างปีพ.ศ.๒๔๙๘ ถึง ๒๕๐๐ กรมสรรพาวุธทหารอากาศ ได้มีอาคารถาวรเพิ่มขึ้นสองหลัง เป็นอาคารสำหรับเก็บดินส่งกระสุนและเก็บกระสุนที่สร้างเสร็จใหม่

กำลังพลปีพ.ศ.๒๔๙๙

นายทหารสัญญาบัตรรวม ๔๕ นาย

นายทหารประทวนรวม ๑๘๗ นาย

ลูกจ้างคนงานรวม ๒๙๖ คน

ยอดกำลังพลรวมทั้งสิ้น ๕๒๘ คน

การฝึกและศึกษา

เริ่มมีการส่งนายทหารประทวนเหล่าทหารสรรพาวุธ ไปศึกษาต่อยังสหรัฐอเมริกา หลายหลักสูตร เป็นระยะเวลาห้าถึงเก้าเดือน

สรุป

ในห้วงระยะเวลานี้เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศท่านที่สอง ได้ดำเนินนโยบายเช่นเดียวกับสมัยแรก เนื่องจากปริมาณงานและกำลังพลเพิ่มขึ้นตามส่วน ด้านการศึกษานอกจากการฝึกอบรมแล้ว ยังได้จัดทำคู่มือและตำราเพื่อให้เจ้าหน้าที่สรรพาวุธ ได้ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติที่ถูกต้อง ด้านโรงงาน ได้จัดหาเครื่องจักรกล เครื่องมือเครื่องใช้เพิ่มเติม เพื่อให้เหมาะกับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี สิ่งบกพร่องทั้งหลายภายในกรมสรรพาวุธทหารอากาศ ได้รับการปรับปรุงแก้ไข และควบคุมดูแล ให้งานในความรับผิดชอบ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี


 


(ยังมีต่อ)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ท่านที่เจ็ด แปด และเก้า เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ท่านที่เจ็ด พลอากาศตรี ประดิษฐ์ บุญยะชัย พล อากาศตรี ประดิษฐ์ บุญยะชัย รองเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ได้เข้ารับต ำแหน่งเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศท่านที่ ๗ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๑๙ ต่อจากพลอากาศตรี ประภาเวชปาน ซึ่งได้เลื่อนขึ้นไปดำรงตำแหน่ง เจ้ากรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ ( อัตราพลอากาศโท ) การจัดส่วนราชการ การจัดส่วนราชการภายในของกรมสรรพาวุธทหารอากาศในสมัยนี้ ยังคงใช้อัตรา ทอ. ๐๖ เช่นเดิม แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลง และปรับปรุงอัตราขึ้นใหม่ภายในกองต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจ ที่กรมสรรพาวุธทหารอากาศรับผิดชอบมากขึ้น โดยเฉพาะกองวิทยาการ ได้เพิ่มแผนกวิศวกรขึ้นมา มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับวิจัยและพัฒนาดัดแปลงอาวุธ และอุปกรณ์สรรพาวุธ วิเคราะห์สาเหตุ และพิจารณาแก้ไข เพื่อลดอันตรายและอุบัติเหตุ ศึกษา ค้นคว้าและเผยแพร่วิทยาการความก้าวหน้าของสรรพาวุธ และอิเล็กทรอนิกส์สรรพาวุธ ตรวจตรากิจการในสายวิทยาการสรรพาวุธ วางแผนเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงอาวุธและอุปกรณ์สรรพาวุธ ดำ
                                              ภาพลงสีโดย นายอดิศร สุขคมขำ     กรมสรรพาวุธทหารอากาศ วันแห่งประวัติศาสตร์ของกรมสรรพาวุธทหารอากาศ (หมายเหตุ ผู้เรียบเรียงฯ ขออนุญาตใช้สำนวนในการบันทึกแบบต้นฉบับ ที่ท่านผู้เขียนบทความ (น.อ.สนั่น สุทธิจารีย์) ได้บันทึกไว้ เพื่อคงคุณค่า และคงไว้ในประวัติศาสตร์ ด้วยความรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเยี่ยมกรมสรรพาวุธทหารอากาศ          เมื่อ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๑๓ (ตรงกับวันจันทร์ เดือน ๗ ปีจอ แรม ๑๑ ค่ำ)  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร. ๙) ได้เสด็จเยี่ยมกรมสรรพาวุธทหารอากาศ เป็นการส่วนพระองค์ โดยมี พล.อ.อ. บุญชู จันทรุเบกษา ผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ.อ. ศิริ เมืองมณี รองผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ.อ. หะริน หงสกุล ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ.อ. สวัสดิ์ พรชำนิ ผู้บัญชาการกองบินยุทธการ พล.อ.ต. ประคอง ปิณฑะบุตร เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ นายทหารชั้นสัญญาบัตร นายทหารประทวน ลูกจ้างคนงาน ของกรมสรรพาวุธทหารอากาศ ตั้งแถวรอรับเสด็จฯ จากทางเข้าในเขตถนนก
                                                     ภาพลงสีโดย นายอดิศร สุขคมขำ _กรมสรรพาวุธทหารอากาศ เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ท่านที่หก ยุคแห่งการวิจัยและพัฒนา พลอากาศตรีประภา เวชปาน พลอากาศตรี ประภา เวชปาน ได้เข้ารับตำแหน่งเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ต่อจาก พลอากาศตรี ประคอง ปิณฑบุตร ซึ่งได้ เลื่อนขึ้นไปดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาทหารอากาศ การจัดส่วนราชการและหน้าที่ การจัดส่วนราชการภายในของกรมสรรพาวุธทหารอากาศ ยังคงใช้อัตรา ทอ. ๐๖ เช่นเดิม แต่ในปีพ.ศ.๒๕๑๗ ได้มีการปรับปรุงอัตราขึ้นใหม่ภายในกองต่างๆ โดยไม่เพิ่มอัตรากำลังพล ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจ ที่กรมสรรพาวุธทหารอากาศ รับผิดชอบมากขึ้น โดยเฉพาะกองโรงงานกระสุนวัตถุระเบิด ได้เพิ่มแผนกโรงงานลูกระเบิด ดำเนินการเกี่ยวกับการสร้าง ผลิต ซ่อม ดัดแปลงแก้ไขลูกระเบิดทุกชนิดและขนาดต่างๆ  กองพัสดุสรรพาวุธ ได้เพิ่มแผนกกระสุนวัตถุระเบิด ทั้งนี้ก็เพื่อบริการสนับสนุนกระสุนวัตถุระเบิด แก่หน่วยบิน และฐานบินต่างๆ ให้ทันกับเหตุการณ์และภารกิจ   และได้โอนฝ่ายทำลาย