ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก








เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศท่านที่สาม

พลอากาศตรี พิชิต บุณยเสนา นายทหารนักบินขับไล่ฝีมือดี ผู้ที่ผ่านสนามรบในกรณีพิพาทอินโดจีน และสงครามมหาเอเชียบูรพามาอย่างโชกโชน เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในกองทัพอากาศมาแล้วหลายตำแหน่ง เช่น ครูการบินผู้บังคับกองบิน และจากรองเสนาธิการกองบินยุทธการ มาเป็นเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ตั้งแต่ ๒๓ กันยายน ๒๕๐๐ ตามราชกิจจาฯ เล่ม ๗๔ ตอน ๘๒ ฉบับพิเศษ หน้า๖ ลง ๒๖ กันยายน ๒๕๐๐ คำสั่งกลาโหมที่ ๔๐๐ / ๒๐๒๐๒
ลง ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๐๐ และได้รับพระราชทานยศ เป็นพลอากาศโท ในตำแหน่ง ผู้ช่วยเสนาธิการทหารอากาศฝ่ายยุทธบริการ ตั้งแต่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๐๕ ตามราชกิจจาฯ เล่ม ๗๙ ตอน ๗๙ ลง ๓๑ สิงหาคม ๒๕๐๕
คำสั่งกลาโหมที่ ๑๙๑ / ๑๗๕๙ ลง ๒๙ สิงหาคม ๒๕๐๕

การจัดส่วนราชการและหน้าที่ ในสมัยเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ท่านที่สามนี้ ยังคงใช้อัตรา ทอ.๙๘
( ผนวกสี่) การแบ่งส่วนราชการ ยังคงแบ่งเป็น กองบริการ กองวิทยาการ กองโรงงานสรรพาวุธ กองโรงงานสร้างกระสุน และกองพัสดุสรรพาวุธ
ในห้วงระยะเวลาระหว่างปี ๒๕๐๐ ถึง๒๕๐๕ กรมสรรพาวุธทหารอากาศ ไม่มีอาคารถาวรเพิ่มขึ้น นอกจากดูแลรักษาอาคารเดิม ให้คงสภาพใช้ราชการได้

กำลังพล ปี ๒๕๐๓-๒๕๐๕
มีนายทหารสัญญาบัตรทั้งสิ้น ๘๙ คน นายทหารประทวน ๑๗๕ คน ลูกจ้างและคนงาน ๓๕๖ คน รวมกำลังพล ๖๒๐ คน

แม้ในระยะนี้จะไม่มีการขยายอาคารและสถานที่เพิ่มเติม แต่ในด้านกำลังพลมีการส่งกำลังพล ทั้งนายทหารสัญญาบัตรและนายทหารประทวนไปฝึกศึกษา อบรม และดูงานยังต่างประเทศมากขึ้น
และที่สำคัญ ได้เริ่มมีนายทหารสัญญาบัตร ที่จบจากโรงเรียนนายเรืออากาศ บรรจุ และปฏิบัติงานที่กรมสรรพาวุธทหารอากาศ และได้รับคัดเลือกไปศึกษาต่อและอบรมยังต่างประเทศ รวมทั้งนายทหารประทวนที่มีความรู้ ความสามารถ และมีฝีมือดี ก็ได้รับการคัดเลือก และเดินทาง ไปศึกษาต่อ ยังต่างประเทศเช่นกัน
นายทหารต่างๆเหล่านี้ ในกาลข้างหน้า จะเป็นกำลังหลักที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ต่อความเจริญก้าวหน้าของกรมสรรพาวุธทหารอากาศในอนาคต
ผู้เรียบเรียงฯ ขออนุญาตยกตัวอย่างนายทหาร ที่ได้รับการคัดเลือกไปศึกษาอบรม ดังนี้

น.ต.สนั่น สุทธิจารีย์ (ผู้เขียน ตำนานสรรพาวุธ ฯ ผู้เรียบเรียง) และ ร.ท.ประทีปสุขสวัสดิ์ หลักสูตรArmament System Officer สหรัฐอเมริกา ปี ๒๕๐๒ ร.ต.รังสรรค์ สนธยานนท์ ร.ต.ทวีศักดิ์ สังข์ทอง หลักสูตรเดียวกัน ปี ๒๕๐๓ ร.ท.สมพันธ์ อินทรสูตร และร.ท.ศรีทอง สุขานุวัตร หลักสูตรเดียวกันปี ๒๕๐๕
ร.ต.พินิจ สุรกูล หลักสูตร Munition Disposal ประเทศฟิลิปปินส์ ปี ๒๕๐๔
นอกจากนี้ กรมสรรพาวุธทหารอากาศ ได้ให้ความสำคัญต่อกำลังพลทุกชั้นยศ โดยสนับสนุนให้นายทหารประทวน เหล่าทหารสรรพาวุธ ได้มีโอกาสไปฝึก ศึกษา และอบรมยังต่างประเทศ  ดังตัวอย่าง(ที่ผู้เรียบเรียงมีความคุ้นเคย) ดังนี้
จ.อ.บุญมี กิตติคุปต์ หลักสูตร Weapon and Fire Control System Mechanics สหรัฐอเมริกา ปี๒๕๐๑ พ.อ.ต.อำพร สุขณียุทธ หลักสูตรเดียวกันปี ๒๕๐๒
จ.อ.สนั่น อนันต์ภักดี หลักสูตร Fire Control System และ Weapon System Technician สหรัฐอเมริกาปี ๒๕๐๓
จ.อ.สุวิทย์ จันระมาด และ จ.อ.ฉลอง บุญสม หลักสูตร Weapon Control System (E4) สหรัฐอเมริกาปี ๒๕๐๕
พ.อ.ท.นิวัต พุกประยูร หลักสูตร Weapon Technics โอกินาวาประเทศญี่ปุ่น ปี ๒๕๐๔
จ.อ.อำนวย แว่นแก้ว จ.อ.มงคล คำยา จ.ท.ไสว เหว่าไว และ จ.ท.ทวิช กลิ่นประดิษฐ์ หลักสูตรWeapon Technics สหรัฐอเมริกา ปี ๒๕๐๕
พ.อ.อ.ฉลองชัย สัตบุษ และ พ.อ.อ.รังสรรค์ จั่นวงศ์แก้ว หลักสูตรMunition Specialist สหรัฐอเมริกา ปี ๒๕๐๔
พ.อ.อ.สุพจน์ สิงหกลางพล และ พ.อ.อ.บุญมี กิตติคุปต์ หลักสูตรSighting System Mechanics โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ปี ๒๕๐๔

นี่เป็นเพียงตัวอย่างของกำลังพลเหล่าทหารสรรพาวุธ ที่ได้ไปฝึก ศึกษาอบรมยังต่างประเทศ ในบันทึกตำนานสรรพาวุธนั้น ผู้เขียน (น.อ.สนั่น สุทธิจารีย์ ) ท่านได้รวบรวมและบันทึกไว้ว่า มีกำลังพลกว่า ๗๐ คน ได้ไปศึกษาอบรม ยังต่างประเทศ กำลังพลเหล่านี้ จะเป็นกำลังหลักที่สำคัญต่อกรมสรรพาวุธทหารอากาศในอนาคต

สรุป
งานด้านวิทยาการ และการส่งกำลังบำรุงอาวุธ กระสุนวัตถุระเบิด ประสบปัญหาบ้างเล็กน้อย แต่ก็ดำเนินไปด้วยโดยเรียบร้อย งานด้านการซ่อมบำรุงสรรพาวุธ ปรากฏว่าสถิติงานสูงขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ เพราะอาวุธที่ ทอ.มีใช้อยู่ เริ่มจะครบอายุซ่อมใหญ่ โดยเฉพาะสรรพาวุธประเภทสรรพาวุธเบา มีสถิติการซ่อม สูงกว่าประเภทสรรพาวุธหนัก อย่างไรก็ดี กรมสรรพาวุธทหารอากาศ ก็พยายามช่วยตัวเอง ให้งานนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ ส่วนงานด้านกระสุนวัตถุระเบิด งานซ่อมมีไม่มากนัก แต่งานด้านการสร้างกระสุนปืนเล็ก( สรรพาวุธเบา) ขนาดต่างๆมีสติสูงขึ้นตามลำดับ ในขณะเดียวกันก็ได้เริ่มงานสร้างกระสุนประเภทสรรพาวุธหนักไปด้วย
ในห้วงเวลานี้ กรมสรรพาวุธทหารอากาศ ได้รับกำลังพลจากแหล่งต่างๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ปัญหาขาดแคลนกำลังพลน้อยลง อย่างไรก็ดี ช่างชำนาญงานแต่ละแขนง ต้องใช้เวลาฝึกอีกหลายปี จึงจะมีความชำนาญในหน้าที่นั้นๆ







(ยังมีต่อ)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ท่านที่เจ็ด แปด และเก้า เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ท่านที่เจ็ด พลอากาศตรี ประดิษฐ์ บุญยะชัย พล อากาศตรี ประดิษฐ์ บุญยะชัย รองเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ได้เข้ารับต ำแหน่งเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศท่านที่ ๗ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๑๙ ต่อจากพลอากาศตรี ประภาเวชปาน ซึ่งได้เลื่อนขึ้นไปดำรงตำแหน่ง เจ้ากรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ ( อัตราพลอากาศโท ) การจัดส่วนราชการ การจัดส่วนราชการภายในของกรมสรรพาวุธทหารอากาศในสมัยนี้ ยังคงใช้อัตรา ทอ. ๐๖ เช่นเดิม แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลง และปรับปรุงอัตราขึ้นใหม่ภายในกองต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจ ที่กรมสรรพาวุธทหารอากาศรับผิดชอบมากขึ้น โดยเฉพาะกองวิทยาการ ได้เพิ่มแผนกวิศวกรขึ้นมา มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับวิจัยและพัฒนาดัดแปลงอาวุธ และอุปกรณ์สรรพาวุธ วิเคราะห์สาเหตุ และพิจารณาแก้ไข เพื่อลดอันตรายและอุบัติเหตุ ศึกษา ค้นคว้าและเผยแพร่วิทยาการความก้าวหน้าของสรรพาวุธ และอิเล็กทรอนิกส์สรรพาวุธ ตรวจตรากิจการในสายวิทยาการสรรพาวุธ วางแผนเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงอาวุธและอุปกรณ์สรรพาวุธ ดำ
                                              ภาพลงสีโดย นายอดิศร สุขคมขำ     กรมสรรพาวุธทหารอากาศ วันแห่งประวัติศาสตร์ของกรมสรรพาวุธทหารอากาศ (หมายเหตุ ผู้เรียบเรียงฯ ขออนุญาตใช้สำนวนในการบันทึกแบบต้นฉบับ ที่ท่านผู้เขียนบทความ (น.อ.สนั่น สุทธิจารีย์) ได้บันทึกไว้ เพื่อคงคุณค่า และคงไว้ในประวัติศาสตร์ ด้วยความรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเยี่ยมกรมสรรพาวุธทหารอากาศ          เมื่อ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๑๓ (ตรงกับวันจันทร์ เดือน ๗ ปีจอ แรม ๑๑ ค่ำ)  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร. ๙) ได้เสด็จเยี่ยมกรมสรรพาวุธทหารอากาศ เป็นการส่วนพระองค์ โดยมี พล.อ.อ. บุญชู จันทรุเบกษา ผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ.อ. ศิริ เมืองมณี รองผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ.อ. หะริน หงสกุล ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ.อ. สวัสดิ์ พรชำนิ ผู้บัญชาการกองบินยุทธการ พล.อ.ต. ประคอง ปิณฑะบุตร เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ นายทหารชั้นสัญญาบัตร นายทหารประทวน ลูกจ้างคนงาน ของกรมสรรพาวุธทหารอากาศ ตั้งแถวรอรับเสด็จฯ จากทางเข้าในเขตถนนก
                                                     ภาพลงสีโดย นายอดิศร สุขคมขำ _กรมสรรพาวุธทหารอากาศ เจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ท่านที่หก ยุคแห่งการวิจัยและพัฒนา พลอากาศตรีประภา เวชปาน พลอากาศตรี ประภา เวชปาน ได้เข้ารับตำแหน่งเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ต่อจาก พลอากาศตรี ประคอง ปิณฑบุตร ซึ่งได้ เลื่อนขึ้นไปดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาทหารอากาศ การจัดส่วนราชการและหน้าที่ การจัดส่วนราชการภายในของกรมสรรพาวุธทหารอากาศ ยังคงใช้อัตรา ทอ. ๐๖ เช่นเดิม แต่ในปีพ.ศ.๒๕๑๗ ได้มีการปรับปรุงอัตราขึ้นใหม่ภายในกองต่างๆ โดยไม่เพิ่มอัตรากำลังพล ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจ ที่กรมสรรพาวุธทหารอากาศ รับผิดชอบมากขึ้น โดยเฉพาะกองโรงงานกระสุนวัตถุระเบิด ได้เพิ่มแผนกโรงงานลูกระเบิด ดำเนินการเกี่ยวกับการสร้าง ผลิต ซ่อม ดัดแปลงแก้ไขลูกระเบิดทุกชนิดและขนาดต่างๆ  กองพัสดุสรรพาวุธ ได้เพิ่มแผนกกระสุนวัตถุระเบิด ทั้งนี้ก็เพื่อบริการสนับสนุนกระสุนวัตถุระเบิด แก่หน่วยบิน และฐานบินต่างๆ ให้ทันกับเหตุการณ์และภารกิจ   และได้โอนฝ่ายทำลาย